วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วิเคราะห์ภาระงาน


วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้(knowledge) ทักษะ (Skil) และเจตคติ (Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-SkillAtitudes การวิเคราะห์ภาระงานเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน คือ
      1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในการเรียนการสอน มีภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
      2. ต้องความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อน จึงจะนําไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   
       3. การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน จากขั้นที่ บอกให้รู้ว่ารู้และวัดผลในเรื่องใด
Donald Clark, (2004 : 13) เสนอแนวผู้เรียนจะต้องเรียนทางการวิเคราะห์ตามกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน นี้ว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อลงสรุปให้ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ชัดเจน ดังนี้
       ทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
       เรียบเรียงภาระงาน (ถ้าจําเป็น)
              
ระบุ งาน
              * บรรยายลักษณะงาน
              
รายการ ภาระงานของแต่ละงาน วิเคราะห์ภาระงานนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้
       เลือกภาระงานสําหรับการเรียนการสอน (ภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะเลือกใช้วิธีอื่น(ที่ไม่ใช่ การสอน)
       สร้างเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติ เลือกวิธีการเรียนการสอน ประมาณค่าใช้จ่ายในการสอน (ถ้าจําเป็น)
       หมายเหตุ คําว่า (ถ้าจําเป็น) อาจไม่ต้องทําก็ได้ เมื่อผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายรับทราบกิจกรรมนั้น ๆ ทราบแล้ว

การวิเคราะห์งาน
     การวิเคราะห์งานเป็นการตรวจสอบว่าในการศึกษานั้น ๆ มีงานใดที่เป็นชีวิตจริง และมีความรู้ ทักษะและเจตคติใดบ้างที่นําไปสู่ความสําเร็จในการทํางานนั้น ๆ การวิเคราะห์งานช่วยให้แน่ใจว่าจะได้ สาระและคุณค่าที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้
คําถามหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน ในการวิเคราะห์งาน มีคําถามหลัก ข้อ คือ
ภาระใดงานใดเป็นข้อกําหนดของงาน การจัดเรียงลําดับของแต่ละภาระงานคืออะไร เวลาที่ใช้ในการทําแต่ละภาระงาน สุดท้ายหาคําตอบให้ได้ว่าภาระงานใดมีความสําคัญ เนื่องจากงาน ประกอบด้วยภาระงานหลายภาระงานการวิเคราะห์งานทําได้อย่างไร วิธีการวิเคราะห์งานที่ใช้บ่อย คือ
การสอบถาม (questionnaires) การสํารวจโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและได้ข้อมูลจํานวนมาก
การสัมภาษณ์ (interviews) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะสนทนาเป็นรายบุคคลกับ ผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก แต่มีข้อดีสําหรับคําถามปลายเปิด หรือสามารถถามเพิ่มเติม ในประเด็นที่ต้องการได้ทันที
การสนทนากลุ่ม (focus groups) การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะให้ผลดีกว่าในประเด็นที่จะ ช่วยให้ตรงประเด็นมากกว่า มิฉะนั้นอาจจะเข้าใจผิดหรือมโนทัศน์ที่ผิดพลาดได้
การวิเคราะห์ภาระงาน     การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่ รายละเอียด-หน่วยย่อย การวิเคราะห์งานทําได้โดยการจําแนกงานออกเป็นภาระงานหลายภาระงาน จากนั้น การวิเคราะห์ภาระงานก็จะวิเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบ โดยใช้คําถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการ วิเคราะห์งาน ดังนี
        ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร 
        ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถนํามาเรียงลําดับด้วยอะไรได้บ้าง 
        ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไร 
        ขั้นตอนที่จําเป็น (critical steps) คืออะไร และเส้นทางวิกฤติ (Critical paths) คืออะไร
   ขั้นตอนที่จําเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้น มิฉะนั้นจะ มีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปัจจัยป้อนให้กับขั้นตอนต่อไป ส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จําเป็น เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสบผลสําเร็จ ของงานได้และในทํานองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
       การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้อง แสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมกัน การเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น กลุ่ม คือ
       1. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการเรียนแบบปกติ (formal) 
       2. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน ( on the job training :OIT)
       3. กลุ่มภาระงานที่ไม่จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือ การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุด การศึกษาด้วยตนเอง ฯลฯ
       คําถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน 
       donal Clark, (2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคําถามในการวิเคราะห์ภาระงานไว้ดังนี้     
       ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง         ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด ภาระงานนี้มีความสําคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด 
       แต่ละคนทําภาระงานนี้ถึงระดับใด หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชิ้นงาน ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง ๆ
       หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย ผลจะเป็นอย่างไร 
       อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น ๆ 
       ระดับความชํานาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน ควรจะอยู่ระดับใด 
       ภาระงานมีความสําคัญอย่างไร 
       สารสนเทศใดที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติภาระงาน และจะได้มาจากแหล่งใด 
       อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
       ในการดําเนินงานตามระบบ จําเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น หรือภาระงานอื่น หรือไม่
       ภาระงานนั้นๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่างๆหรือไม่ เช่น ด้านการรับรู้ (perceptual) ด้าน ความรู้ (cognitive ) และด้านทักษะ (psychomotor) และด้านกายภาพ (Physical)
       ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด ภายใต้กรอบเวลา เช่น (รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี)
       การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด ในการปฏิบัติภาระงานนี้ บุคคลต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถต่างๆ อะไรเป็นพื้นฐาน 
       เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติที่ยอมรับได้ในปัจจุบันคืออะไร และเกณฑ์ที่พึงประสงค์คืออะไร 
       พฤติกรรมใดที่สามารถจําแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี พฤติกรรมใดที่มีความสําคัญ ต่อผลการปฏิบัติงานตามภาระงาน

การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้
       การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้จะเป็นการจํากัดขอบเขตของเรื่องที่จะนํามาสอนกับเรื่องที่ไม่ต้อง นํามาสอน ซึ่งมีความสําคัญยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากหนังสือเรียนบรรจุสาระสนเทศไว้มากเกินกว่าที่จะนํามา สอนอย่างมีประสิทธิผลในระยะเวลาหนึ่งภาคเรียน ควรยึดหลักว่า เพื่อเป็นผลดีต่อ การเรียนรู้จริง ๆ ของ ผู้เรียน สื่อการเรียนรู้ที่จําเป็นถึงแม้ว่าจะน้อยแต่ก็ดีกว่าสื่อการเรียนรู้ขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้ช่วยให้ประสบ ความสําเร็จในการเรียน
วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ อาจจะแบ่งได้ หลายลักษณะ เช่น การเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs 1974 : 53 - 70) กําหนดสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 
       1) ข้อมูลที่เป็นความรู้ 
       2) เจตคติ 
       3) ทักษะ 
ส่วนเดคโค (De Cecco 1968 : 214 - 447) แบ่งสาระการ เรียนรู้ตามจุดประสงค์เป็น 
       1) ทักษะ 
       2) ความรู้ที่เป็นข้อมูลธรรมดา 
       3) ความคิดรวบยอดและหลักการ 
       4) การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และการค้นพบ
การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ควรดําเนินการดังนี้ 
       ตัดสินใจให้ได้ว่าสารสนเทศใดมีความจําเป็นสูงสุด แบ่งออกเป็นมโนทัศน์ย่อย ๆขอเสนอแนะให้นําโครงสร้างการจําแนกจุดประสงค์การเรียนรู้มาใช้ในการตัดสินใจในการสอน อาทิ การจําแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาของ บลูม (Bloom's Taxonomy)

การออกแบบและพัฒนาภาระงาน
        Herman, J. L., Aschbacher, P. R., and Winters, L. (1992 อ้างถึงใน ชอบ ลีซอ (2555) การประเมิน ตามสภาพจริง สํานักทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ) การออกแบบและพัฒนาภาระงาน ต้อง อาศัยหลักวิชา การวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระในระดับมืออาชีพ ขั้นตอนการสร้างภาระงานมีดังต่อไปนี้
        1. การระบุความรู้และทักษะที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน โดยเริ่มจากพิจารณาและ วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร ผลการเรียนที่คาดหวัง หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อที่จะ สามารถระบุขอบเขตและประเภทของความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
        ผู้สอนควรตั้งปัญหาถามตนเอง ข้อเพื่อที่จะระบุหรือกําหนดความรู้และความสามารถที่ผู้เรียน จะได้รับจากการปฏิบัติภาระงาน คือ
        1) ทักษะทางปัญญาและคุณลักษณะที่สําคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึกและพัฒนาคืออะไร เช่น การสื่อสารด้วยการเขียนอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาโดยใช้ข้อมูลขั้น ปฐมภูมิและจากเอกสารอ้างอิง การใช้หลักพีชคณิตเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน เป็นต้น
        2) ทักษะและคุณลักษณะทางสังคม และจิตพิสัยที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียน คืออะไร เช่น การทํางานโดยอิสระ การปฏิบัติโดยร่วมมือกับผู้อื่น ความมั่นใจในความสามารถของตน และการรู้จัก รับผิดชอบ เป็นต้น
        3) ทักษะความคิดระดับสูงและอภิปัญญา (Meta-cognition) ที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียนคือ อะไร เช่น การใคร่ครวญ ตรึกตรอง ทบทวนกระบวนการทํางานของตน(ผู้เรียน) การประเมินประสิทธิภาพ ของกลวิธีที่ตน(ผู้เรียน)ใช้ การพิจารณาและประเมินความก้าวหน้าของตนเอง(ผู้เรียนเป็นระยะ ๆ เป็นต้น
        4) ความสามารถที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความสามารถอะไร เช่นความสามารถในการวางแผน ศึกษาค้นเพื่อหาคําตอบให้กับประเด็นปัญหาที่กําหนดให้ ความสามารถจําแนกประเภทปัญหาที่สามารถใช้ หลักการทางเรขาคณิตแก้ได้ การแก้ปัญหาที่ไม่มีคําตอบที่ถูกต้องแน่ชัด เป็นต้น
        5) หลักการทางวิชาการและความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คือ อะไร เช่น การใช้หลักการทางนิเวศวิทยากําหนดแนวปฏิบัติในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การใช้หลัก คณิตศาสตร์ไตรยางค์ในการแก้ปัญหาเรื่องการซื้อขาย เป็นต้น
       2. ออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ(จากข้อ 1) ลักษณะสําคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และใน ขณะเดียวกันต้องครอบคลุมสาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้ อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ
      Herman et al. (1992) ได้เสนอประเด็นคําถามสําคัญเพื่อให้ผู้สอนพิจารณาในขั้นตอนนี้ คือ
        1) เวลา จะต้องใช้เวลาเท่าไร ผู้เรียนจะพัฒนาความรู้และทักษะที่เป็นเป้าหมายของการ ปฏิบัติงานในระยะเวลาเท่าไรจึงจะเหมาะสม เนื่องจากการพัฒนาความคิดรวบยอดที่สําคัญและทักษะ กระบวนการคิดระดับสูง ความรู้ทักษะมักจะใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ยาวนานพอสมควร ผู้สอน/ผู้ออกแบบ ควรจะกําหนดเวลาที่เหมาะสมตามประเภทของสาระสําคัญและความลึกซึ้งของทักษะ และวัยระดับชั้นเรียน หรือพัฒนาการด้านสติปัญญาของผู้เรียน
        2) จะมีหลักการอย่างไร ในการเลือก ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีจํานวน มากและหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่กําหนด หลักการสําคัญคือพิจารณาจากมาตรฐานการ เรียนรู้ ให้ความสําคัญกับความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตาม หลักสูตรสถานศึกษา และความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ กว้างขวาง และใช้ได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
        3) พิจารณาโลกแห่งความเป็นจริง ผู้สอน ผู้ออกแบบควรให้ความสําคัญต่อความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ควรให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นเพียงอุดมคติแต่ไม่สามารถบรรลุ ได้ในความเป็นจริง
        3. การกําหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) หรือเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน เป็นปรนัย เป็นที่ ยอมรับ และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับของผลสัมฤทธิ์ทางด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ เกณฑ์การให้คะแนนส่วนมากมักจะอยู่ในรูปตาราง มิติ ประกอบด้วย
         ส่วนหัวของ Rows จะแสดงระดับคุณภาพของความรู้ ทักษะหรือความสามารถของแต่ละ Column จํานวน Rows จะขึ้นอยู่กับจํานวนของระดับคุณภาพที่ต้องการใช้ และส่วนมากจะอยู่ระหว่าง 2-3 ระดับ
         ช่องแต่ละช่องในตารางจะมีคําบรรยายถึงระดับคุณภาพแต่ละระดับของความรู้ ทักษะ หรือ ความสามารถที่ประเมินภาระงานแต่ละชิ้นควรจะมีเกณฑ์การประเมินเฉพาะตัว เกณฑ์การประเมินที่ ออกแบบมาอย่างดีจะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนว่าจะต้องแสดงความสามารถด้านใดออกมาในระดับใดจึงจะได้ คะแนนเท่าไร เกณฑ์การประเมินยังเป็นเครื่องมือให้ผู้สอนสามารถประเมินผู้เรียนอย่างเป็นปรนัยและได้ผล การประเมินที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ควรจะมีตัวอย่างผลงานพร้อมทั้งระดับคะแนนแต่ละด้านให้นักเรียนได้ ศึกษาประกอบด้วย
         หมายเหตุ ผู้สอน ผู้ออกแบบควรจะภาระงานไปทําการตรวจสอบทบทวน แล้วนําไปทดลองใช้ ในภาคสนาม นําผลกลับมาศึกษาวิเคราะห์ และปรับปรุงแก้ไข ก่อนจะนําไปใช้ในสถานการณ์จริงต่อไป
การสอนเพื่อความเข้าใจ: การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
การกําหนดจุดหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูจะพิจารณาว่านักเรียนมีความรู้ พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้ว จากนั้นกําหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนควรมีสิ่งที่ จําเป็นต้องรู้และจําเป็นต้องทํา นักเรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด และควรทําอะไรได้บ้าง ควรมีความ เข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้าง ครูจะต้องพิจารณาวิธีการประเมิน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก (ระบุหลักฐานและเกณฑ์ในการประเมินผลชัดเจน) จึงจะสามารถ พัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
Wiggin ได้เสนอเสนอกระบวนการออกแบบ การเรียนรู้ที่ย้อนกลับ จากจุดหมายการเรียนรู้และ มาตรฐานที่กําหนดไว้ โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตร ออกแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เริ่มจากจะวิเคราะห์ตั้งแต่ ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า หากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กําหนดไว้ จะต้องพิจารณาจากสิ่งใด หรือจากหลักฐานอะไร จึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์ วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมี ความชัดเจนในเรื่องจุดหมาย และออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและ จุดหมายที่พึงประสงค์ 
          การออกแบบแบบย้อนกลับ (backward design)จะมี ขั้นตอนดังนี้
          1. การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้ 
          2. การกําหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมายการเรียนรู้ที่กําหนดไว้
          3. การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 
          การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
          ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสําคัญและรู้อะไรแล้ว กําหนดขอบข่ายว่า นักเรียนจําเป็นต้องรู้สาระอะไร และจะต้องทําอะไรได้ ผู้เรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด ควรทําอะไรได้ บ้าง และควรมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด Wiggin ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากําหนดจุดหมาย ประการ ได้แก่
          1. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอน ในห้องเรียนหรือไม่ ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ เฉพาะเรื่องเท่านั้น แต่จะต้องเป็น เรื่องหลัก ประเด็นหลัก ที่สามารถนําไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ นอกห้องเรียน
          2. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นหัวใจของศาสตร์ ที่เรียนหรือไม่ นักเรียนควรมีโอกาส ผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้น ๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าองค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
          3. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจ เพียงใด มีเนื้อหาสาระเป็นจํานวนมากที่ซับซ้อน ยาก และเป็นนามธรรมเกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วย ตนเอง หัวข้อเหล่านี้ ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจ ง่าย ที่นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
          4. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียน มีหลายหัวข้อ หลาย กิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว สามารถเลือกมาใช้เพื่อเป็น “ประตู” ไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า หาก สามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจ จะช่วยทําให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเอง ต่อไป

การวางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้วผู้สอนสามารถเริ่ม วางแผนการจัดการเรียนรู้ได้ โดยอาจตั้งคําถามดังต่อไปนี้
          ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กําหนดไว้                กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว 
          สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสําหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่
การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนภายใต้ข้อจํากัดของทรัพยากร
          ชั้นเรียนโดยทั่วไปกําหนดให้มีจํานวนผู้เรียนประมาณห้องหรือกลุ่มละ 30 คน เพื่อที่ผู้สอนและ ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นทางการ เมื่อสังคม เปลี่ยนแปลงจํานวนผู้เรียนเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ชั้นเรียนขนาดเล็กกลายเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้สอนใน สถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบสอนชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้แบ่งเป็นกลุ่มหรือชั้นเรียนขนาดเล็กโดยมีผู้ช่วย สอนหรือไม่ผู้สอนก็ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการสอน( มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเทคนิคการเรียนการสอน ที่เกี่ยวข้องกับผู้สอน ผู้ช่วยสอน(ประจําห้องปฏิบัติการ ห้องเทคโนโลยีที่ทันสมัย ) ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ของผู้เรียน ในการจัดการเรียนการสอนควรมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากมีข้อจํากัดของทรัพยากรอันเป็นผลจาก พัฒนาการทางสังคม โดยปรับวิธีการเรียนการสอน เครื่องมือและสภาพกายภาพ ผู้สอนจะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับจิตใจของคน การจัดการเรียนรู้เชิงสังคม และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้น
อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
          นิรมล ตีรณสาร สวัสดิบุตร (2548 : 7 - 8) ได้กล่าวไว้ว่า หนังสือ อัธยาตมวิทยา (อ่านว่า อัด-ทะยาต-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน ซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้เป็นครูจําเป็นต้องรู้ เพราะ ทํางานกับคน เป็นตําราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ ที่เขียนโดย ขุนจรัสชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร) พิมพ์ เผยแพร่ในปี ร.ศ. 125 (พ.ศ.2449) อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูยิ่งควรอ่าน และเชิญ ชวนให้นิสิต นักศึกษาอ่านด้วย และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่า ในการเขียนตํารา ควรอ่านแล้วปรับปรุงตํารา ให้ ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม พยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะเรื่องที่จําเป็นสําหรับครูจริงๆ ตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับที่ตําราอัธยาตมวิทยานี้แสดงตัวอย่างไว้ หนังสือ อัธยาตมวิทยา แบ่งเป็นตอนใหญ่ๆ 10 ตอน คือ
          1. วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ ซึ่งเน้นว่า ครูที่ดีจะต้องรู้อาการของจิตใจ นักเรียนให้ละเอียด เหมือนแพทย์ที่ดีต้องรู้อาการของร่างกายคนไข้
          2. ลักษณะทั้งสามของจิตใจ (ความกระเทือนใจ ความรู้ ความตั้งใจ) มีการแบ่งชั้นของความเจริญ ของจิตใจไว้ชั้น คือ อายุ 17 ปี 7-14 ปี และ 14 - 21 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
          3. ความสนใจ มีสองชนิด คือ ที่เกิดขึ้นเอง และที่ต้องทําให้เกิดขึ้น
          4. ความพิจารณา มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าเด็กในกรุงเทพฯ กับเด็กบ้านนอกมีความ พิจารณาต่างกันอย่างไร และครูของเด็กทั้งสองพวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังมี ข้อแนะนําที่น่าสนใจสําหรับครูในการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์ พงศาวดาร การเขียนลายมือ และวาดรูป
          5. ความเจริญของอาการทั้งห้า (รู้สึก เห็น ฟัง ชิม คม) มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครูในการหัด อาการทั้ง และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดไว้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป หัดให้รู้จักหนทางไกล (การวัดการคาดคะเน) หัดให้รู้จักรูปด้วยอาการสัมผัส หัดอาการฟังด้วยการอ่าน-ด้วยเพลง หัดอาการคมและ อาการชิม
          6. ความจํา มีเรื่องลืมสนิท และลืมไม่สนิท จําได้และนึกออก ชนิดของความจําและเรื่องที่ครูควร อ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งที่ครูควรถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจํา สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจ และสิ่ง ที่ไม่ควรให้นักเรียนท่อง
          7. ความคิดคํานึง วิธีฝึกหัดความคิดคํานึงให้ดีขึ้น มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิด คํานึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ พงศาวดาร และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่ เห็นว่าไร้สาระ ก็ช่วยหัดให้เด็กมีความคิดคํานึ่งได้
          8. ความตกลงใจ เกิดจากอาการ อย่าง คือ การเปรียบเทียบและการลงความเห็น มีตัวอย่าง บทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจ เช่น การเขียนหนังสือ และวาดรูป บทเรียนสําหรับหัดมือ (พับ ตัด ปั้น) การกระจายประโยคตามตําราไวยากรณ์ เลข การเล่นออกแรง
          9. ความวิเคราะห์ มีการแสดงตัวอย่างวิธีสอน แบบ คือ แบบ “คิดค้น” (induction) และแบบ “คิดสอบ” (deduction) มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิดสอบต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษา ต่างกันอย่างไร ครูจะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้น เมื่อใดให้คิคสอบ และมีตัวอย่างวิธีสอนเรื่อง กริยาวิเศษณ์ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู 11 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก ขั้นตอน ซึ่งเป็นการ คิดสอบ การใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ ท่านเรียกว่า วิธีสําเร็จ และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธี อื่น ๆ
          10. ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่าง คําจํากัดความ ลักษณะแห่งความเข้าใจ และบอกวิธีสอนที่จะ ทําให้เด็กเข้าใจได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา
          วิชาอัธยาตมวิทยาต่อมาเป็นวิชาจิตวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบัน คือ เรียนรู้หลักวิชา จิตวิทยาที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน (จรัส ชวนะพันธ์ สารท สุทธเสถียร)ขุน (2548) นนทบุรี : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
การสานสร้างความรู้จากสังคม
          Tofler (1980) กล่าวถึงพัฒนาการทางสังคมมนุษย์จากสังคมเกษตรกรรม มาสู่สังคมอุตสาหกรรม และสังคมสารสนเทศ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ เรียกกันในช่วงแรกว่า สังคมสารสนเทศ (information Society) ต่อมาผู้คนในสังคมที่มีปัญญาสามารถจัดการความรู้ได้สังคมสารสนเทศก็กลายเป็น สังคมฐานความรู้ (knowledge based society) การพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย เป็นผลให้แนวทางในการจัด การศึกษาจําเป็นต้องให้สมาชิกในสังคมให้พร้อมรับสังคมฐานความรู้ การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ กล่าวกันในการจัดการศึกษานั้น ต้องเกิดจากความเข้าใจผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของผู้เรียน เพื่อสร้าง กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดกระบวนการ เรียนรู้ สื่อในการเรียนรู้ การศึกษาตามทฤษฎี social constructivism มีความเหมาะสมมากสําหรับสังคมสารสนเทศ โดยเฉพาะสังคม
ฐานความรู้ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หาก สถานศึกษาจัดสภาวะแวดล้อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากเครือข่ายสารสนเทศ สุดาพร ลักษณียนาวิน (2550) ได้เสนอกระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม (Social constructivism) ดังนี้

 ตารางที่ 10 กระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม

        การศึกษาตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม หลักสูตรจะเป็นตัวกําหนดสิ่งที่จะเรียนรู้ โรงเรียนและผู้สอนจะกํากับการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนจะช่วยกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ สภาพสังคม วิธีการเรียนการสอนแบบนี้ต้องรวมพลังในการเรียนการสอน ทั้งการเตรียมการ เวลาในการ ค้นคว้าหาข้อมูล เวลาในการทํากิจกรรมและเวลาที่ต้องมีให้แก่กันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับ ผู้สอน เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมการเรียนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนเป็นผู้กํากับดูแลเอง (autonomous learner) ผู้เรียนเป็นผู้สานสร้างความรู้ ในบริบทของคําถามและโจทย์ที่มีให้ตอบไม่รู้จบ เครื่องมือและสภาพทาง กายภาพของห้องเรียน มีการออกแบบห้องเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อ กับเพื่อน และกับ ผู้สอน

การเรียนรู้แบบร่วมมือ
         ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือได้รับการยืนยันจากการวิจัยทั้งการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง และในภาคสนาม การศึกษาสหสัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ผลในห้องเรียนจริงๆ Johnson and Johnson (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น กลุ่ม คือ 
         1) การประเมินผลรวม ได้ผลว่าการ เรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์
         2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบ ได้ข้อสรุปว่า กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 
         3) การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่ จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ 
         4) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบ ร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับชั้น ทุกเนื้อหาวิชา และทุกงาน(ภาระงาน) ด้วยความมั่นใจ ความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆ ทาง การศึกษา ผลลัพธ์นี้ Johnson and Johnson (1989a) สรุปได้เป็น ประเภท คือ ความพยายามที่จะบรรลุ ผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพทางบวกระหว่างบุคคล และสุขภาพจิต  ดังภาพประกอบที่4
 ภาพประกอบที่ผลลัพธ์ของการร่วมมือ

       ที่มา: Johnson and Johnson (1994 the new circles of learning cooperation in the classroom and school มานพ ธรรมสาร ผู้แปล กรมวิชาการ 2546 : 32) 

ทักษะแห่งความร่วมมือ
         Johnson and Johnson (1991, 1994) กล่าวว่า ทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะส่งผลต่อความสําเร็จ ในความพยายามร่วมมือกัน ทักษะแห่งความร่วมมือมี ระดับ คือ
         1. ระดับสร้างนิสัย (forming) ทักษะขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้ทําหน้าที่ได้ เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งการจัดการเรียนรู้และกําหนดมาตรฐานขั้นต่ํา พฤติกรรมที่ สําคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
         เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน เวลาการทํางานกลุ่มเป็น สิ่งมีค่า จึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียนให้น้อยที่สุดตามความจําเป็น นักเรียนอาจ จําเป็นต้องฝึกการจัดกลุ่มหลาย ๆ ครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
         อยู่ประจํากลุ่ม นักเรียนที่เดินไปเดินมาในช่วงที่กลุ่มทํางาน ไม่ก่อให้เกิดผลดี และยังรบกวน สมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
         พูดเบา ๆ แม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม แต่ไม่จําเป็นต้องใช้เสียงดัง เกินไป ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้คอยกํากับคนอื่นให้พูดเบา ๆ ไม่ได้
         กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิดร่วมกันใช้สื่อการเรียน และมีส่วน ในความพยายามให้กลุ่มบรรลุผล การให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทําหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่จะทําให้นักเรียนทุก คนในกลุ่มมีส่วนร่วม
         2. ระดับสร้างบทบาท (function) ทักษะที่จําเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อทํางานให้สําเร็จ และรักษาสัมพันธภาพในการทํางานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่ม ทักษะระดับที่สองนี้เน้นที่การจัดการ ความพยายามของกลุ่มเพื่อทํางานให้สําเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทํางานที่มีประสิทธิผล การทําให้ สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทํางาน การหาวิธีดําเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการสร้าง บรรยากาศการทํางานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้น ถือว่าเป็นการผสมผสานอันสําคัญที่จะนําไปสู่กลุ่มการ เรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผล ตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
         แนะแนวทางการทํางานของกลุ่ม โดย 
         (1) แจ้งและความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย 
         (2) เตือนให้ใช้เวลาตามที่กําหนดไว้ 
         (3) เสนอขั้นตอนว่าจะทํางานอย่างไรให้สําเร็จอย่างมีประสิทธิผลที่สุด
         แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับ ทั้งการใช้คําพูดและการแสดงท่าทาง โดยใช้การ มองสบตา แสดงความสนใจ ชมเชยแสวงหาความคิด และข้อสรุปของผู้อื่น
         ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทําในกลุ่ม เสนอให้คําอธิบายหรือชี้แจง แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
         เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นว่าแรงจูงใจลดลง โดยเสนอแนะความคิดใหม่ ใช้อารมณ์ขัน หรือ แสดงความกระตือรือร้น บรรยายความรู้สึกของตนเมื่อมีโอกาสเหมาะ
         3. ระดับสร้างระบบ (formulating) เป็นทักษะที่จําเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกใน เนื้อหาวิชาที่เรียน เพื่อส่งเสริมให้ใช้กลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูง และเพิ่มความเชี่ยวชาญและความ คงทนของความรู้ที่ได้จากงานที่ปฏิบัติ ทักษะระดับที่สามนี้ทําให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จําเป็นในการ
         สร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียน กระตุ้นการใช้กลยุทธ์การให้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและ เพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียน เนื่องจากความมุ่งหมายกลุ่มการเรียนรู้คือ ต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิก ทักษะเหล่านี้มุ่งเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธีการในการจัด ระเบียบความรู้ที่เรียน ทักษะระดับสร้างระบบสามารถดําเนินไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทบาทต่าง ๆ กัน บทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
         ผู้สรุปย่อ เป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่าน หรือภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทําได้โดยไม่อาศัยร่างบันทึก หรือสื่อการเรียนต้นฉบับ ควรสรุป ข้อเท็จจริงและความคิดสําคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปย่อด้วย สมาชิกทุกคน ในกลุ่มต้องสรุปย่อจากความจําบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มการเรียนรู้
         ผู้แก้ไข เป็นผู้ระวังเรื่องความถูกต้อง โดยคอยแก้ไขข้อสรุปของสมาชิก แล้วเพิ่มเติมข้อสนเทศที่ สําคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
         ผู้ประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดยขอให้สมาชิกอื่น ๆ เชื่อมโยงความรู้ที่ กําลังเรียนอยู่กับความรู้ที่เรียนไปแล้ว และกับสิ่งอื่น ๆ ที่สมาชิกเหล่านั้นรู้
         ผู้ช่วยจํา เป็นผู้หาวิธีการที่ดีในการจดจําข้อเท็จจริงและความคิดสําคัญ โดยการใช้ภาพวาด สร้าง มโนภาพ หรือวิธีจําอื่น ๆ แล้วนํามาร่วมหารือในกลุ่ม
         ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนถึงเหตุผลที่ใช้ในการ ทํางานให้สําเร็จ ซึ่งจะทําให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้ง และเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
         ผู้ขอความช่วยเหลือ เป็น ผู้เลือกคนที่จะคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม รวมทั้งเป็นผู้ตั้ง คําถามที่ชัดเจนและตรงประเด็น และทําอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสําเร็จ
         ผู้อธิบาย เป็นผู้บรรยายวิธีการทํางานให้สําเร็จ (โดยไม่ให้คําตอบ) ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เจาะจง เกี่ยวกับงานนักเรียนอื่น และลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาธิตวิธีการทํางานให้สําเร็จ
         ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบาย เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความรู้ให้ นักเรียนคนอื่นโดยละเอียด การวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุด มีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ์การให้ เหตุผลและความคงทนของความรู้
         4. ระดับสร้างเสริม (fermenting) ทักษะที่จําเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผลในสิ่งที่เรียน ความขัดแย้งด้านการรู้คิด(อภิปัญญา) การค้นหาความรู้เพิ่มเติม และการสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผลเมื่อมีการ สรุปผล ทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่สี่ ที่ทําให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย่งทางวิชาการได้ ประเด็นสําคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ สมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผล และการให้เหตุผล ของกันและกันอย่างคล่องแคล่ว การโต้แยงทางวิชาการทําให้สมาชิกกลุ่ม “เจาะลึก” ในเนื้อหาความรู้ที่เรียน ระคมหลักเหตุผลในข้อสรุป คิดแปลกแยกเกี่ยวกับปัญหา หาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตน
ละอภิปรายโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับ การโต้แย้งทางวิชาการ ได้แก่
         วิจารณ์ความคิด โดยไม่วิจารณ์คน แบ่งแยกความแตกต่าง เมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้ บูรณาการความคิดหลายความคิดให้เป็นจุดยืนเดียว ขอคําชี้แจงในเรื่องการสรุปผลผลหรือคําตอบของสมาชิก ขยายความข้อสรุปหรือคําตอบของสมาชิกอื่น โดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงนัยที่นอกเหนือออกไป
         ตรวจสอบโดยการตั้งคําถามซึ่งนําไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไป หรือการวิเคราะห์ (มันจะได้ผล หรือไม่ในสถานการณ์นี้” “มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ทําให้คุณเชื่อ)
         ให้คําตอบลึกลงไปอีกโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคําตอบหรือข้อสรุปแรก ให้คําตอบที่มีความ เป็นไปได้หลายๆคําตอบให้เลือก
ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกลุ่มในเรื่องวิธีการทํางาน เวลาที่มี และปัญหาที่ กลุ่มเผชิญ
         ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คําตอบที่ลึกมีคุณภาพสูง นอกเหนือจากคําตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลัน โดยการกระตุ้นการคิดและความอยากรู้อยากเห็นทางพุทธิ ปัญญาของสมาชิกกลุ่ม

สรุป
         ในการจัดการเรียนการสอนจะตัดสินใจว่าปัญหาในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนนั้น เป็น ปัญหาที่สามารถแก้ไขด้วยการศึกษา การวางแผนจัดการเรียนการสอนจะต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ วิเคราะห์งานและภาระงาน การวิเคราะห์ภาระงานนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้ กล่าวคือ การทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น และผู้เรียนจะได้รับ ภาระงานสําหรับการเรียนการสอน ส่วนภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะถูกตัดออกหรือใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การ สอน ภาระงานที่เลือกมาต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องแสวงหา วิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับมีประสิทธิภาพ) และต้องสนองตอบจุดหมายของการเรียนรู้ (มี ประสิทธิผล) ไปพร้อมกัน

ตรวจสอบและทบทวน
         ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น วิเคราะห์ภาระงาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการ ระบุงาน และภาระงาน โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็น ชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ การออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ (จากขั้น การ กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (setting learning goals) ลักษณะสําคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และในขณะเดียวกันต้องครอบคลุม สาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและ น่าเชื่อถือ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น