วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 5 การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)


บทที่ 5 การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)
        D: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่าน เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็น เกงวกับเนื้อหา (ดาtent) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน(Relection) ซึ่งตั้งอยู่ในการเรียนรู้ การทํา และชีวิตประจําวัน
        พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต 2546 : 9 – 10) กล่าวว่า สังคมข่าวสารข้อมูลหรือสังคมสารส โลกมีข่าวสารข้อมูลแพร่กระจายกว้างขวางทั่วถึงรวดเร็วมาก ก็คิดว่าคนจะฉลาด คนจะมีปัญญา จะเข้าสู่ยะ แห่งปัญญา แต่ที่จริงการมีข้อมูลข่าวสารมากไม่จําเป็นต้องทําให้คนมีสติปัญญา หากว่าไม่พัฒนาคนให้รู้จัก รับและใช้ข้อมูลนั้น และกล่าวสรุปไว้ว่าจําแนกคนได้เป็นสามประเภท ดังนี้                                   
1. กลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อ ในกรณีที่คนไม่พัฒนาสติปัญญาอย่างถูกต้องให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่าง แท้จริง และสามารถถือเอาประโยชน์จากข่าวสารข้อมูลได้ก็จะเป็นโทษอย่างมาก ข่าวสารข้อมูลจะกลายเป็น เครื่องมือก่อสร้าและหลอกลวง ทําให้คนเป็นเหยื่อ                                                         
2 กลุ่มที่รู้เท่าทัน คนจํานวนมากมีความภาคภูมิใจว่าตนตามทันข่าวสารข้อมูล มีข่าวสารข้อมูล อะไรออกมาก็ตามทันหมด ปรากฏว่าตามทันเท่านั้น แต่ไม่รู้เท่าทัน และก็ถูกกระแสข่าวสารข้อมูลท่วมทับ พัดพาไป กรณีเช่นนี้ถ้ามีปัญญารู้เท่าทันก็จะทําให้ดํารงอยู่ท่ามกลางกระแสได้ เป็นผู้ที่ยืนหยัดตั้งหลักอยู่ได้     
3. กลุ่มที่อยู่เหนือกระแส การรู้เท่าทันยังไม่พอ ควรที่จะสามารถทําได้ดีกว่านั้นอีกคือขึ้นไปอยู่ เหนือกระแส เป็นผู้ที่สามารถนําเอาข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง คนกลุ่มนี้สามารถ จัดการกับกระแส โดยทําการเปลี่ยนแปลงในกระแสหรือนํากระแสให้เดินไปในทิศทางใหม่ที่ถูกต้อง
        ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ( http://www.dlthailand.com/thima-khxng-khongkar) อ้างอิงงานวิจัยของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยว่าสาเหตุหลักส่วนหนึ่งของปัญหา คุณภาพการศึกษาไทย คือ การที่ ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้าง ความรับผิดชอบ (Accountability) หลักสูตรและตําราเรียนของไทยไม่สอดคล้องกับ การพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 (21st Cen ซึ่งมีผลทําให้การเรียนการสอน ตลอดไปจนถึงการทดสอบยังคงเน้น การจดจําเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้ มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อีกทั้งสภาพการจัดการศึกษาของ ประเทศไทยในปัจจุบัน กําลังประสบปัญหา

ในด้านคุณภาพของนักเรียน ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งมีสาเหตุจาก การขาดครูหรือครูไม่ครบชั้นไม่สาระการเรียนรู้ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการจัดการเรียนรู้น้อย ขาคสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและการ สงได้ลําบาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย กิจกรรมของโรงเรียนมีมาก ทรัพยากรที่มีกระจัด จายไม่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และการแก้ปัญหาต่างๆก็ทําได้ในวงจํากัด                        กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทํา โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมี ดิจกรรมหลัก คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลโดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย เสือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกล ปานเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล (Distance 1.ins) เป็นการจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอนในทุกห้องเรียน แก้ปัญหาการ ขาดแคลนครู ในโรงเรียนขนาดเล็ก ครูสามารถจัดการเรียนรู้ในทุกสาระได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนและ ครได้เข้าถึง สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย นักเรียนและครูมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทุกภาคส่วนเข้า มามีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา การนําเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Distance Learning) มายกระดับ คุณภาพการศึกษา เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) และการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning via Information Technology ; DLIT) มาดําเนินงานโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา โดยมีการจัด สภาพการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ของครูอย่างครบถ้วน ทั้งกระบวนการออกแบบกิจกรรมการ เรียนการสอนที่เน้น กระบวนการสร้างความรู้ จากการลงมือปฏิบัติ เนื้อหา ตลอดจนสื่อและอุปกรณ์ที่จําเป็น ในการจัดเรียนการสอน อันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการ เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับ ประชาชนไทยทุกคน อันเป็นการดําเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาท และสนองพระราชดําริในการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล บทความไอที 24 ชั่วโมง วันที่: 25 พฤศจิกายน 2016) ได้เสนอบทความเรื่อง การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล สรุปความว่า เทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กําลังทําให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้ นั้นคือ Internet of Everything (IoE) IoE จะสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา เช่น นักศึกษาที่อาศัยอยู่ในลอนดอนสามารถร่วมรับฟังการบรรยายจาก สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้ โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารที่ทําให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคในการเรียน โดยข้อมูลการเรียนรู้และข้อมูลทั้งหมดจะพร้อมให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ตลอดเวลาข้อมูล และสื่อการสอนต่างๆ ที่มีอยู่จะถูกนํามาใช้ร่วมกันในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อวิธีการและสถานที่ที่ใช้ในการเรียนรู้ ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เศรษฐกิจ - ที่เชื่องฟูทําให้ IoE มีความจําเป็นมากกว่าทักษะและจํานวนของผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นโดย

lots จะทําให้อุปกรณ์สามารถนํามาใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้เรียน แบบทดสอบเพื่อทดสอบจุดอ่อนและจุคแข็งของผู้เรียน และ นอกจากนี้ loE ยังสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของผู้มีความบกพร่องทางร่างกายและทางสติปัญญา เช่น 1 ประเทศออสเตรเลีย นําเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไปใช้ในโรงเรียนสอนผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย โดยของผู้เรียน และใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้สําหรับ เซ็นเซอร์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ภาษามือของผู้เรียน และใช้ในการ ผู้เรียนสมาธิสั้น โดยการตรวจเช็คการทํางานของสมองและการให้รางวัลสําหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการเรียนที่ดีขึ้น                                    
      คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปก สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ข่าว ประชาสัมพันธ์ วันที่ 4 พฤษภาคม 2561) ได้นําเสนอ Digital Learning Platform แนวทางการจัดการเรียนการ สอนผ่านระบบออนไลน์และการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สรุปได้ว่า ในเรื่องของการศึกษา สิ่งแรกที่ต้องกระทําคือปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ให้ชัดเจน ชัยชนะจะ เกิดขึ้นได้อยู่ที่ Big data ซึ่ง Big data ในที่นี้ความหมายที่ถูกต้องคือ ข้อมูลที่เอามาวิเคราะห์และเอาไปใช้ ประโยชน์ในการบริหาร ได้โดยสะดวก ไม่ใช่หมายถึงข้อมูลจํานวนมากที่จัดเก็บไว้ใคอมพิวเตอร์แม่ ข่าย นอกจาก Big data แล้ว จิตวิทยาในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ ต้องออกแบบในสิ่งที่ผู้เรียน อยากเรียน ไม่ใช่ออกแบบอย่างที่เราต้องการ ต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยให้ ความสนใจกับผู้ใช้ (User) และผู้เรียน (Learner) กระทรวงศึกษาธิการต้องตั้งโจทย์ว่าผู้เรียนอยากรู้อะไรที่ไม่ เคยรู้และไม่เคยคิดว่าจะมีทางทําได้ ประเทศไทยกําลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านสําคัญ 5 ด้าน ได้แก่
1) Digital Infrastructure การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคมได้ดําเนินการโครงการเน็ตประชารัฐเข้าถึงพื้นที่ระดับชุมชน                          
2) คนกับดิจิทัล ต้องมีการสร้างคนในระดับต่างๆ การศึกษาต้องจับคู่กับความต้องการของด้าน แรงงานให้เหมาะสม ว่ามีความต้องการคนทํางานที่มีคุณสมบัติอย่างไร และด้านใดบ้าง เพราะจะเห็นได้ว่าใน บางธุรกิจเช่นธุรกิจธนาคาร หรือบางอุตสาหกรรม คนเริ่มถูก AI เข้ามาแทนที่แล้ว                   
3) Big Data ในภาครัฐ ต้องมีการบูรณาการข้อมูลระหว่างกระทรวงเพื่อนํามาวิเคราะห์ ออกแบบ และวางแผนทางด้านนโยบายต่างๆ เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกําลังคนในระบบการศึกษา ตอบโจทย์ความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น                                                      
4) Cyber Security ต้องให้ความสําคัญกับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ                      
5) Internet of Things (IoT) มหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี IOT อย่างเร่งด่วน
        
    อติพร เกิดเรือง (2560) ได้เสนอผลการศึกษาเรื่อง การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อ รองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล (วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง 173 - 184) สรุปดังนี้ 
1 การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมในยุคดิจิทัล มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 
1) การเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัล 
2) การสร้างสรรค์ 
3) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
4) ผลิตภาพที่มีคุณภาพสูง 
2. การเรียนรู้จากยุคเดิมสู่ยุค คาง ต้องจัดการเรียนรู้ ที่คํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียน การทํางาน และการดํารงชีวิต เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองโดยนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยใน การจัดการเรียนรู้ให้ มากที่สุด ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ตามหลักสูตร และการวัดผลและประเมินผลพัฒนาการ มากกว่าการวัดผลสัมฤทธิ์ 
3. การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล ต้องคํานึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างสรรค์ปรับแต่ง การเรียนรู้การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เน้นการใช้เครือข่าย ออนไลน์ การจัดการเรียนรู้สร้างสถานการณ์ จําลองให้ผู้เรียนพบประสบการณ์จริง เนื้อหาการเรียนรู้ควรมี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ สามารถสร้างองค์ความรู้ แบ่งปันความรู้และเนื้อหาผ่านเครือข่าย ออนไลน์และส่งเสริมความรู้ในโลกแห่งการทํางานมากขึ้น

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
        คําว่า สื่อ มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตํารา เทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ medium หรือ media มาจากภาษาลาติน หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่ อยู่ตรงกลาง (Intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการ สื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชน เป็นพาหนะของการโฆษณา (Guralinitjv07, 1970) ดังนั้น เมื่อพิจารณาในด้าน ของการสื่อสารแล้ว สื่อจึงหมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะนําความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกําเนิดไปสู่ผู้รับ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และสิ่งดังกล่าวนี้ เมื่อนํามาใช้กับการเรียนการสอน เรา เรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
         กลวิธีการสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทําไปพร้อมกัน หลังจากที่ได้มีการกําหนดจุดหมายและวิเคราะห์ภาระงานแล้ว แบบจําลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความ เรียบง่าย และแบบที่มีความซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ (Robert Mager) (Knirk and Gustafson, 1986 : 169) ผู้ซึ่ง เป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสําเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการ เลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทําจากอย่างอื่น วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการ ออกแบบและผลิต ง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่าย และนักเขียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของ แบบจําลองง่ายๆ สําหรับการเลือกสื่อ ส่วนแบบจําลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยง เท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหาร ก็คือ อย่าโง่เลย ทําให้ดูง่ายๆ เถอะ (KISS : Keep It Simple, stupid)
        การนําเสนอสื่อการเรียนการสอน ควรเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ง่าย แก่การเข้าใจ สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงและบ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามี

ประสิทธิภาพและเชื่อถือ ไม่ได้ ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกที่สุดที่ทําให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตาม เจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามข้อควรจํา คือ การสื่อราคาย่อมเยาที่ผลิตไม่ส การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน                          
         การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เป็นเรื่องสําคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการ ออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการ วิธีการเสื่อ หรือเลือกวิธีการ เลือกวัสดุอุปกรณ์ ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
        กระบวนการผลิตสื่อ นักออกแบบอาจจะทําเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานา อ อาจจะผลิตวัสดุ (software) สําหรับจําหน่ายความจํากัดสําหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการตัดสินใจ เกี่ยวกับวิธี/สื่อ จะหลากหลายไปตามสถานการณ์ และแม้ว่าจะมีวิธีการหลายวิธีในการจําแนกสื่อเป็น ประเภทๆ ก็ตาม ก็ยังไม่มีอนุกรมภิธานสื่อ (taxonomy of media) ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ (Seels and Glasgow, 1990 : 179)
        ในบทนี้จึงเป็นการเสนอสื่อ 3 ประเภท คือ วิธีการ สื่อดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่หรือสื่อดิจิทัล ภายใน แต่ละประเภทจะมีทางเลือกและรูปแบบมาก เช่น กราฟฟิก และฟิล์ม หรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลาย รูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิ การ์ตูน และภาพประกอบการเลือกวิธีการสื่อ อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความ เหมาะสมสําหรับผู้เรียนสิ่งที่เรียนและข้อจํากัดคุณลักษณะของผู้เรียน จุดประสงค์ สถานการณ์การเรียนรู้ และ ข้อจํากัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือกวิธีการและสื่อหลังจากที่ได้มีการระบุวิธีการสื่อแล้วผู้ออกแบบต้อง แสวงหาสื่อจากดัชนีสื่อจากสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อการค้าซึ่งสามารถที่จะนํามาใช้หรือนํามาปรับใช้ได้ถ้าสื่อ เหล่านั้นไม่มีประโยชน์ก็ต้องผลิตสื่อขึ้นเอง                                                         
         ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อ ทีมในการผลิตควรจะประกอบ ไปด้วยใครบ้าง ผู้ออกแบบต้องริเริ่ม เฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต เป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่ จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาการภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตาม การผลิต

       ประเภทของสื่อ
        สื่อสามารถจําแนกได้สี่ ประเภท คือ สือทางหู (audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกัน (audio- isual) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ สาหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภทและตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1.     สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสําหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียงวิทยุกระจายเสียง

        2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆ ที่เป็นของ โดาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจําลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส
        3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป คนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิทัล วีดิโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital
video interactive technology)
        4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริงแบบจําลองในการทํางาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จําลอง
         ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
        ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสําหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจง ออกแบบจําเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท ตารางที่ 16 จะ แสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจากประเภทของสื่อสําคัญ 4 ประเภทและตารางที่ 17 แสดง ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
        การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ
        การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในบางเวลาจะเลือกวิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จําเป็นในการใช้ที่หลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird:180) เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทาง หลวง (highway) ที่นําไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ (วัสดุฝึก) เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม (accessories) บนทางหลวง เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งทําให้การเดินทางสะดวกขึ้น
        วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ตัดสิน ธรรมชาติของบทเรียน Joyce and Weil (1980) เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจําลองการสอน (model of teaching) แบบจําลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียนมากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยใน หลักสูตร

การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
        สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนําเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคําที่ใช้ อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน (mode of delivery) จึงเป็นความจําเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จะส่งผ่าน แบบการเรียนการสอนนั้น ในทางตรรกะแล้วเป็นความจําเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์ (hardware ) และส่วนที่
เป็นวัสดุ (software) สําหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
        การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทําได้ก่อน ทําตามหลัง หรือทําไปพร้อมๆกับการตกลง วิธีการ โดยทั่วๆ ไปแล้ว จะทําตามหลังหรือทําไปพร้อมๆกัน การบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อ สิ่งพิมพ์
        ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการสื่อ ออกเป็นสามประเภท คือ วิธีการ (methods) สื่อ(traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดําเนินหลักสูตร โดยท่าน ซึ่งอาจจะรวมๆ กัน แต่จะใช้สื่อรวมๆ กัน ส่วนสื่อเดิมๆ จะรวมถึงงานพิมพ์ (print) และสื่อโสตร์ (audiovisual media) และสําหรับเทคโนโลยีใหม่ หรือสื่อดิจิทัล คือ การสื่อสารโทรคมนาคมและไมโล โพรเซสเซอร์ (microprocessor) สื่อ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ (print materials) ทัศนวัสดุไป ฉาย (nonprojected visuals) ทัศนวัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio media) ระบบสื่อผสม (multimedia Systems) ภาพยนตร์ (films) และโทรทัศน์ (television) สื่อแต่ละประเภทเหล่านี้สามารถแตกออก ให้เลือกได้ในหลายรูปแบบ ดังแสดงในตารางที่ 18 และตารางที่ 19

การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่สื่อดิจิทัล
        เทคโนโลยีใหม่/สื่อดิจิทัล ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based instruction) และการเรียนรู้ทางไกล ที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน (telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสภานที่หนึ่ง เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ดังแสดงที่ตาราง 18 นิยามศัพท์เฉพาะสือและ เทคโนโลยี
       การพิจารณาเลือกสื่อ
        สากการทั่วไปจํานวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสําหรับการเรียนกาย สอน คือ กฏในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ


ตารางที่ 18 ทางเลือกสําหรับสื่อดั้งเดิม
ทัศนวัสดุฉาย: ไม่เคลื่อนไหว (Projected Visuals : Stacle)
ทัศนวัสดุไม่ฉาย (Non Projected Visuals)
Opaque Projection
Pictures
Overhead Projection
Photographs
Slides
charts graphs diagrams
Filmstrips
diagrams displays-exhibits, feltboards, bulletin boards
สื่อ (Media) (Multimedia Presentation)
การนําเสนอด้านสื่อผสม
Records
sound slide
tape-reel ,cassette cartridge
multi-image
audio cards
film- cassette ,multimedia kit
สิ่งพิมพ์ (Print) (Projected Visuals : Stacie)
ทัศนะวัสดุฉาย : ไม่เคลื่อนไหว
Text book
Film
Television
Programmed text
8 mm
8mm
Super 8 mm     1 / 2 inch

16 mm             3/4  inch

35 mm             1 inch

เกมส์ (Games)
ของจริง (Realia)
board games
Models
simulation games
Manipulative
Puzzles
Specimens
ที่มา :
Barbara Seels and Zita Glasgow , Exercises in Instructional Design (Columbus, Ohio : Merrill Publishing company,1990),p.182.



กฎในการเลือกสื่อ
        การเลือกสื่อมีกฏอยู่ 6 ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจอย่างไม่เป็น ทางการในการเลือกสื่อ
         กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (two way medium) นักเรียนจะ เรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ/สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทํางาน หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน
         กฎที่ 2 ชื่อทางเคียว (one-way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสือที่ให้ข้อมูลป้อนก กาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วย หรือมีแบปฝึกตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธ ปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู ซึ่งสามารถที่จะถามคําถามและตอบคำถามได้
        กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้าอาจจะ ต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม (remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็น พิเศษ สือภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ง ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีเลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัย บุคคล
        กฎที่ 4 การนําเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพยาบาล เรียนรู้วิธีการตัดไหม จําเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียน | ออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
        กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มี การเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติ จําเป็นต้องทําการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือตัดไหมจริงๆ
        กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่าง กัน ตัวอย่าง ทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทําหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่ วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ)
        ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
        ได้มีการเรียนรู้กฏซึ่งจําเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจําที่มอง หาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ
Telecommunication-based     
Teleconferencing                                                         
Telelectures
Microprocessor-based  
Computer-assisted instruction
Computer Games
 Exper Tutoring Systems
Hypermedia
Interactive Video
 Computer-managed Instruction
Compact Disc
ตารางที่ 20 ข้อควรพิจารณาในการเลือกสื่อ
ปัจจัย
ตัวอย่าง
1. สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
บ้าน ที่ทํางานชั้นเรียน ม้านั่ง
2. ประสิทธิผลในการลงทุน
ราคาต่อห้อง และราคาในการดําเนินงาน
3. แหล่งวัสดุอุปกรณ์ที่มีประโยชน์เพียงพอ การพัฒนาภาพยนตร์ สตูดิโอ การพิมพ์
วัสดุอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสม มีระเบียบเรียบร้อย
4. ความสะดวกในการใช้ตําแหน่งที่ตั้ง เวลาที่ สําหรับการเตรียมตัว
เช่นใช้มากน้อยเท่าไร บ่อยเท่าไร ขนาดของกลุ่ม
5. สิ่งที่ไม่จําเป็น (Non-essentials)
สีมีความจําเป็นหรือไม่ ตําราเพียงพอ หรือ สไลค์ที่จะใช้ในการนําเสนอเพียงพอหรือไม่
6. ทรัพยากรมนุษย์หาได้ง่ายหรือไม่
ผู้ชํานาญการพิเศษด้านวิธีการผลิตสื่อหาได้ง่ายหรือไม่
7.นโยบาย
นโยบาย เจตคติต่อต้านการเปลี่ยนแปลงข้อขัดแย้งต่างๆ

แบบจําลองการเลือกสื่อ
        แบบจําลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สําหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมี เลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของอา ต่าง แต่ละแบบจําลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ ให้สังเกตภาพที่ ไม่ได้นํามาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8 ซึ่งใช้สําหรับโครงการการพัฒนาการเรียนสอนของ กองทัพอากาศ
       แบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
        ในแบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการจําแนกจุดประสงค์และการจําแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้า กับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสําหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลน ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจําแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ํา ตามชนิดของ การเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจําลองนี้ ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ํากับชนิดของการเรียนรู้ (aien, 1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ําหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ ข้อจํากัด
       แบบจําลองของเยอร์ลาชและอีลี
        แบบจําลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. 1971 ในตําราที่ชื่อว่า การสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นําเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน (entering behaviors) แล้วเกณฑ์ ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ ความเหมาะสมทางปัญญา (สือสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ 2 ระดับของความเข้าใจ (สื่อทําให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ 3ราคา ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach and Ely,1980) ภาพที่ 5 จะ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของจุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตําราของเยอร์ลาชและอีสได้มีการ พิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1980 โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสําหรับครูทุกระดับ 
       การขยายขอบเขตการเรียนรู้ด้วยการวิจัยการเรียนรู้
        ผู้สอนสามารถปรับปรุงความสามารถในด้านวิชาการของผู้เรียนด้วยการวิจัย การวิจัยการเรียนรู้จะ ช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทําให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึง กับที่ตนเผชิญอยู่นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่ กรณีที่หลากหลาย ด้วยการตั้งคําถามลึกๆ เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสํารวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะ ตัดสินใจว่า ประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ นักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสําหรัความสามารถ และคุณลักษณะของคนจํานวนมาก แต่สิ่งที่สําคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้ คือ การ ทดลอง ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
        แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน เนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่ เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไปโดยปราศจากของการจัดการ ริชชี ได้จัด กลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ ผู้เรียน เนื้อหาวิชา สิ่งแวดล้อม และระบบ การสอน การออกแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความชี้เฉพาะในแต่ละกลุ่มอย่างหลากหลาย

ตารางที่ 21 ตัวอย่างของการปฏิบัติเชิงการเปลี่ยนแปลง
 การปฏิบัติเชิงความจํา (recognition practice)
คาร์บูเรเตอร์ตัวไหนทํางานถูกต้อง
 เมฆที่เห็นเป็นชนิดที่เรียกว่า นิมบัส (nimbus) หรือคูมูลัส (cumulus)
การแก้ไขการปฏิบัติ (editing practice)
คาร์บูเรเตอร์นี้ทํางานไม่ถูกต้อง ทําให้ถูกต้อง
เมฆที่เห็นไม่ใช่นิมบัส เป็นเมฆชนิดใด
การปฏิบัติที่ให้ผล (production practice)
ในการติดตั้งคาร์บูเรเตอร์ อย่าลืมต้องติดตั้งโช้ค (choke) ก่อน
จงครูปร่างและสีของเมฆ แล้วบอกว่าเป็นเมมชนิดใด
        ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) อีกวิธีการหนึ่งที่จะทําให้การผิดพลาคลคลงคือ การให้ผู้เรียนได้รับรู้ การตอบสนองนั้นไม่ถูกต้อง การรู้ว่าถูกหรือผิคจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทําให้ถูกต้องระหว่างทดลอง และเน้นไปที่ส่วนของภาระงานที่ต้องการกลั่นกรอง
       การเรียนรู้จากสื่อเคลื่อนที่
        เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ (Mobile technology) จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบพลวัตรที่สร้างสรรค์ การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ในยุคที่ความ เจริญก้าวหน้าของสื่อสารไร้สายนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทโน็ตบุคคอมพิวเตอร์โทรศัพท์มือถือ (รวมถึง TABLETS) กล้องถ่ายภาพดิจิทัล เครื่องเล่น MP3หรือ MP4 และอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อื่น ๆ อีก มากมาย ในที่นี้ขอเรียกว่า สื่อเคลื่อนที่ (Mobile devices) สามารถนํามาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้กาตอบสนอง ได้รวดเร็ว มีปฏิสัมพันธ์แบบโต้ตอบให้ประสบการณ์ที่ดี เช่น ในการสอนวิชาภาษาต่างประเทศ สามารถ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านสือเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้ ทั้งนี้ผู้เรียนยังใช้ประโยชน์ในการส่งอีเมล  หรือใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการได้อีกด้วย ในบางกรณีผู้เรียนยังมีความคาดหวังที่จะได้เรียนรู้แม้ว่าจะ ไม่ได้เข้าชั้นเรียน โดยที่ผู้เรียนสามารถติดตามบทเรียนตามที่ต้องการได้สะดวกจากเว็บไซต์



สรุปConclusion)
        การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะเปลี่ยนการเรียนการสอนแบบเดิมที่ครูเป็นศูนย์กลางมา เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน การเรียนรู้ คือกระบวนการทางสังคม ผู้เรียนจะต้องการเรียนรู้เพื่อให้
จามรู้หรือคําตอบ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และหาคําตอบจากสื่อสังคมออนไลน์ การเรียนรู้ออนไลน์ การ รางสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ใหม่โดยใช้ความสามารถของอินเทอร์เน็ต เว็บ สื่อสังคมออนไลน์เพื่อรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป สภาพแวดล้อมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น สารสนเทศคือ ส่วนสําคัญของการเรียนรู้ สื่อดิจิทัลทํา ให้เกิดโอกาสในการช่วยให้ผู้เรียนรู้เข้าถึงและมี มติสัมพันธ์กับแหล่งสารสนเทศและกลุ่มผู้เรียนรู้ด้วยกัน ผู้สอนจะต้องเรียนรู้และพัฒนาเพื่อให้สอดคล้อง กัสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน คือ e-learning and m-learning กล่าวคือ จัดให้ส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ และการเรียนรู้แบบ เคลื่อนที่ (Mobile learning) อํานวยความสะดวกให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน เทคโนโลยีที่โดด เด่นที่กําลังทําให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้ นั้นคือ Internet of Everything (IoE) ซึ่ง จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ โดยจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมีการคาดว่า IoE จะทําให้เกิด โอกาสมากมาย ด้วยมูลค่าที่สูงถึงระดับล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการนํา IoE มาใช้ในการปฏิวัติการศึกษาเพื่อสร้างรูปแบบของการเรียนรู้ของ คนรุ่นใหม่ จะยิ่งทําให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ตรวจสอบและทบทวน
        ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล ปฏิบัติการผลิตหรือจัดหาสื่อที่เกี่ยวข้อง บทเรียน การวางแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้ดําเนินการแล้ว การนําเสนอสาระความรู้ในรูปแบบ คิจิทัล อาทิ พาวเวอร์พอยต์

Web link
https://techsauce.co/tech-and-biz/why-digital-learning-so-important-for-millennial-workers/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น