วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

รูปแบบการเรียนการสอน PIAS

รูปแบบการเรียนการสอน PIAS เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ใน ระดับมัธยมศึกษา
1. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การท างานเป็นกลุ่ม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การน าความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและมีเจตคติทาง วิทยาศาสตร์
2. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ ประกอบด้วยทฤษฎีและแนวคิด ดังนี้
2.1 ทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) ตามแนวคิดของเพียเจต์ ที่กล่าวถึงการ สร้างความรู้ว่า เป็นกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญาเมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดย อาศัยประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน หากประสบการณ์ใหม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมจะใช้ กระบวนการซึมซับเข้าสู่ประสบการณ์เดิม (assimilation) หากประสบการณ์ใหม่ต่างจากประสบการณ์ เดิมจะใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญาเดิมเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาใหม่ (accommodation)
2.2 ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม (group process) หลักการสำคัญของทฤษฎีนี้ คือการ รวมกลุ่มจะทำให้สมาชิกเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านการกระทำ ความรู้สึก และความคิด กลุ่มจะมีความ พยายามช่วยกันทำงานโดยอาศัยความสามารถของแต่ละคน การแบ่งบทบาทหน้าที่ของสมาชิกเพื่อ ปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
2.3 หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning) หลักการนี้เน้นที่การจัด นักเรียนให้ได้ท างานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย โดยสมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบต่อกลุ่มร่วมกัน มีการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันเพื่อน าไปสู่ความสำเร็จที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน
3. ขั้นตอนการเรียนการสอน  ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
 ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างความรู้ใหม่ (preparation for concept) เป็น ขั้นที่ครูเสนอสถานการณ์โดยอาจทำในลักษณะการทดลอง การสาธิต การใช้กิจกรรมที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกับเนื้อหาที่เคยเรียนรู้มาแล้วหรือที่เคยพบในชีวิตประจำวัน เพื่อตรวจสอบความรู้เดิมว่า ถูกต้องหรือไม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับแก้ความเข้าใจเดิมให้ถูกต้อง
ขั้นที่ 2 ขั้นสืบสอบเพื่อสร้างความรู้ใหม่ (inquiry learning) เป็นขั้นที่นักเรียนดำเนิน กิจกรรมตามใบงานที่กกหนดหัวข้อไว้ โดยแต่ละใบงานมีลักษณะดังนี้
1) เป็นกิจกรรมที่มีลำดับขั้นตอนการทดลองค่อนข้างละเอียด
 2) เป็นกิจกรรมที่มีลำดับขั้นตอนการทดลองอย่างคร่าว ๆ
3)  เป็นกิจกรรมที่ไม่บอกลำดับขั้นตอนการทดลอง ทุกใบงาน นักเรียนวางแผน ดำเนินการทดลองและสรุปข้อมูลจากการทดลองโดยวิธีการ ท างานแบบร่วมมือและนำเสนอความคิดของกลุ่มตนต่อกลุ่มใหญ่ เพื่อให้เพื่อนช่วยตรวจสอบและนำไปสู่ ข้อสรุปรวมของทั้งห้อง 

ขั้นที่ 3 ขั้นประยุกต์และบูรณาการ (application and integration) เป็นขั้นที่ครูเสนอ สถานการณ์ที่คล้ายกับการทดลองที่ครูเป็นผู้กำหนดให้ เพื่อให้นักเรียนออกแบบการทดลองได้ด้วยตนเอง
  ขั้นที่ 4 ขั้นนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน (science in daily life) เป็น ขั้นที่ครูให้นักเรียนนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่พบในชีวิตประจำวันหรือ แก้ปัญหาชีวิตประจำวันด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้ไปแล้ว   ครูหรือนักเรียนเสนอสถานการณ์ในชีวิตประจ าวันที่คล้ายคลึงกับการทดลอง นักเรียน อธิบายปรากฏการณ์นั้น หรือยกตัวอย่างสถานการณ์ในชีวิตประจ าวันที่นำการทดลองไปใช้
 รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ New Way
New Way เป็นรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา ที่มุ่งพัฒนา ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียนอย่างบูรณาการจากการฟัง-พูด ไปสู่การอ่าน-เขียน และน า ทักษะการสื่อสารไปทดลองใช้ด้วยกิจกรรมการสร้างผลงานต่างๆ (task-based) ท าให้การเรียนมี ความหมายและสนุกสนาน 1. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในวิชาภาษาอังกฤษ ทั้ง ในด้านผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกสนาน 2. ทฤษฎี/แนวคิด/หลักการของรูปแบบ   รูปแบบการเรียนการสอน New Way มีหลักการ ส าคัญ ดังต่อไป 1) นักเรียน เรียนด้วยการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารจริงกับเพื่อนและครู โดยมี เป้าหมายเพื่อให้นักเรียนน าภาษาไปใช้ท างาน/โครงงานทั้งในและนอกห้องเรียน
2) เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูน าเสนอบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับประสปการณ์ของ นักเรียน ให้นักเรียนก าหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนของตนเอง ท ากิจกรรมฝึก ทดลองใช้ภาษาและสรุป ความรู้ด้วยตนเอง
3) การเรียนการสอน เน้นให้นักเรียนท างานเป็นกลุ่มย่อย มีการคิดแก้ปัญหาร่วมกัน และร่วมมือกันท างาน/โครงงานตามเป้าหมายที่กลุ่มก าหนดไว้ โดยใช้แหล่งความรู้ต่างๆ เช่น ทบทวน จากสื่อที่ครูสอน และน าไปเก็บรวบรวมไว้ที่มุมภาษาอังกฤษ ถามครู ผู้ปกครองหรือบุคคลที่มีความรู้ อื่นๆ และค้นคล้าจากห้องสมุด เป็นต้น
4) ครูท าหน้าที่เป็นผู้อ านวยความสะดวก ในการเรียนการสอน บทบาทของครูหลังจาก ขั้นกระตุ้นความรู้เดิมและสอนแล้ว จะเป็นผู้คอยช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มต่างๆ ให้สามารถด าเนิน กิจกรรมการเรียนไปสู่เป้าหมาย โดยเดินดูการท างานของนักเรียนในกลุ่ม และให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อ เสริมแรงเมื่อนักเรียนท างานได้ถูกต้องแล้ว
5) กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแบบบูรณาการ ทักษะฟัง  พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ เข้าด้วยกันตลอดเวลา นักเรียนขะใช้ทักษะดังกล่าวในการสื่อสาร ในการท ากิจกรรมกลุ่ม ตลอดเวลา ทั้งนี้ครูต้องไม่เคร่งครัดกับความถูกต้องของไวยากรณ์มากนัก ถ้าการสื่อสารด าเนินไปได้ ด้วยดี
6) สื่อหลัก ชุดปฏิบัติการ New Way สามารถใช้ร่วมกับสื่ออื่น ที่ครูและนักเรียน ช่วยกันจัดท าให้เหมาะสมกับระดับความรู้ และความสนใจของนักเรียน ในการท ากิจกรรมการเรียนการ สอนตามขั้นตอนต่างๆ

 7) การท ากิจกรรมทุกขั้นตอน ต้องให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนไม่เครียด และ สามารถเรียนได้ตามระดับความสามารถ ความต้องการ และความสนใจของแต่ละบุคคล ทั้งนี้นักเรียน สามารถย้อนกลับไปท ากิจกรรมขั้นต้นๆได้ตลอดเวลาถ้าต้องการ
8) ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลงาน/โครงงานร่วมกัน ตามสภาพความเป็นจริง การประเมินให้ดูผลสัมฤทธิ์ในการเรียน โดยดูจากผลงาน/โครงการควบคู่กับกระบวนการเรียน การคิด และเจตคติในการเรียนของนักเรียนเป็นระยะๆตลอดภาคเรียน
 3. ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบ New Way มี 5 ขั้น หรือ 5Ps คือ
1) ความรู้เดิม (Prior Knowledge) ครูช่วยกระตุ้นความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อเตรียมตัวนักเรียนให้พร้อม โดยใช้เกม เพลง การสนทนา
2) นำเสนอบทเรียน (Presentation) ครูสอนบทเรียนใหม่ด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ มี การใช้สื่อ และเทคนิคการสอนต่างๆอย่างหลากหลาย
3) นักเรียนฝึกภาษา (Practice) ในกลุ่มย่อย ตามรูปแบบที่ครูสอนด้วยสื่อและ กิจกรรมเป็นกลุ่มย่อยและถ้ามีปัญหาสามารถกลับไปทบทวนกิจกรรมขั้นนำเสนอบทเรียนที่มุม ภาษาอังกฤษ หรือขอความช่วยเหลือจากครูได้
4) นักเรียนทดลองใช้ภาษา (Production) ในกลุ่มย่อย จากประสบการณ์ของตนเอง โดยใช้รูปแบบภาษาในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ฝึกมา เป็นขั้นที่นักเรียนเริ่มใช้กระบวนการคิด จน สามารถสรุปสร้างความรู้ในกลุ่มได้ด้วยตนเอง  ครูมีหน้าที่ให้ข้อมูลย้อนกลับว่าถูกต้องหรือไม่ ในขั้นนี้ถ้า นักเรียนใช้ภาษาผิดพลาดบ้าง แต่ยังสามารถสื่อความหมายได้ ให้ปล่อยผ่านไปก่อนเพราะการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเป็นเป้าหมายหลัก
 5) นักเรียนทำงาน/โครงงาน (Project) เป็นกลุ่มย่อย โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา และภาษาอังกฤษในการปฏิสัมพันธ์เพื่อทำงาน/โครงการตามขั้นตอนที่กำหนด และถ้าจำเป็นนักเรียน อาจใช้ภาษาไทยช่วยในการสื่อสารได้บ้างเพราะเป้าหมายในการเรียนแต่ละครั้งคือผลงานหรือ/โครงงาน ในห้องเรียน และเป้าหมายหลักคืองาน/โครงงานที่นักเรียนคิดสร้างสรรค์ตามความสนใจ และ ความสามารถนอกห้องเรียน ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือให้นักเรียนคิดและใช้ทำงาน/โครงงานให้บรรลุ ตามเป้าหมาย   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น