วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตัวอย่างแบบจำลองการเลือกใช้สื่อ


การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลอง
The ASSURE Model
ในการวางแผนการใช้สื่อการสอน ผู้สอนควรจะมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การใช้สื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้ การวางแผนอย่างเป็นระบบนี้ เราสามารถใช้รูปแบบจำลองที่เรียกว่า  " The ASSURE Model " ของไฮนิคและคณะ (Heinich and others 1999) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
A nalyze Leaner Characteristics
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
S tate Objectives
การกำหนดวัตถุประสงค์
S elect, Modify, of Design Materials
การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่
U tilize Materials
การใช้สื่อ
R equire Learner Response
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
E valuation
การประเมิน


การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ( Analyze Leaner Characteristics )
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ทำให้ผู้สอนได้ทราบลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้เลือกใช้สื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
ลักษณะทั่วไป ได้แก่ อายุ ระดับความรู้ เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งลักษณะทั่วไปจะช่วยให้ผู้สอนสามารถเลือกระดับของบทเรียนและตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้
ลักษณะเฉพาะ ของผู้เรียนแต่ละคน มีส่วนสำคัญโดยตรงกับเนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน โดยสิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์ได้แก่ พื้นฐาน ความรู้ของผู้เรียน,  ดูว่าผู้เรียนมีความชำนาญในทักษะที่สอนนั้นมาก่อนหรือไม่  เพื่อจะได้สอนให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ , ทักษะทางด้านภาษา การอ่านเขียน การคำนวณ เป็นต้น และทัศนคติต่อวิชาที่จะเรียน   
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมได้ เช่น ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ก็สามารถช่วยได้ด้วยการใช้สื่อประเภทที่ไม่ใช่สื่อสิ่งพิมพ์  การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนอาจทำได้ด้วยการสนทนากับผู้เรียนหรือผู้ร่วมชั้นอื่น ๆ หรืออาจมีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อดูพื้นฐานของผู้เรียนก็ได้
การกำหนดวัตถุประสงค์ ( State Objectives )
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม การกำหนดวัตถุประสงค์เป็น  "วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม" 
แบ่งออกเป็น
1. พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา
 2. จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
 3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนนั้นเพื่อผู้เรียนจะได้ทราบว่าจะสามารถเรียนรู้หรือกระทำใดได้บ้าง , เลือกสื่อและวิธีการได้ถูกต้อง , ช่วยในการประเมินผู้เรียนได้ว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ ( Select, Modify, of Design Materials )
การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
  1. เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1) ลักษณะผู้เรียน                                                 
2) วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
3) เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน                   
4) สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อ                                                                                             แต่ละชนิด
 2. ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
 3. การออกแบบสื่อใหม่ 
หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อ วัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้
การใช้สื่อ ( Utilize Materials ) 
 เป็นขั้นตอนของการกระทำจริงซึ่งผู้สอนต้องดำเนินการดังนี้
                1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว : ต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และทดลองใช้ดูว่ามีปัญหาหรือไม่ ถ้ามีจะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน
               2. เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่   เพื่อความสะดวกเรียบร้อยก่อนการสอน และทดลองอุปกรณ์ที่จะใช้ก่อนว่าใช้ได้ดีหรือไม่
               3. เตรียมตัวผู้เรียน โดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการแนะนำก่อนล่วงหน้าและเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน
               4. การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นำเสนอนั้น
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน ( Require Learner Response )
การตอบสนองของผู้เรียนจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ ว่าเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากอย่างไร นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถมีการตอบสนองโดยเปิดเผย ( overt respone) โดยการพูดหรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน ( covert response ) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ และเมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ การเรียนการสอนโดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการตอบสนองและได้รับการเสริมแรงระหว่างการเรียนได้เป็นอย่างดี

การประเมิน ( Evaluation )
               การประเมินสามารถกระทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ
           1. การประเมินกระบวนการสอน เพื่อประเมินว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ ทั้งด้านผู้สอน สื่อการสอน และวิธีการสอน ซึ่งการประเมินจะทำได้ทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังการสอน
          2. การประเมินความสำเร็จของผู้เรียน ขึ้นกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใด การวัดผลอาจทำได้ด้วยการทดสอบ การสอบปากเปล่า หรือดูจากผลงานของผู้เรียน สิ่งสำคัญที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลทางการเรียนมากน้อยเท่าใด คือ สังเกตจากการปฏิบัติและการแสดงออกของผู้เรียน
         3. การประเมินสื่อและวิธีการสอน โดยการให้ผู้เรียนมีการอภิปรายและวิจารณ์การใช้สื่อและเทคนิควิธีการสอนว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างการวิเคราะห์และการออกแบบการใช้สื่อตามหลักของ ASSURE MODEL
เรื่อง  ความหมาย และคุณลักษณะที่ดีของผู้ประกอบการ  ชั้น ปวช. 1
สาระสำคัญ
                ผู้ประกอบการ คือ ผู้ที่คิดริเริ่มดำเนินธุรกิจเป็นของตนเอง มีการวางแผนและดำเนินงานด้วยตนเอง เพื่อมุ่งหวังผลกำไร การเป็นผู้ประกอบการจะต้องมีคุณลักษณะทั้งด้านบุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ( Analyze Leaner Characteristics )
ลักษณะทั่วไป : ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในความหมาย และคุณลักษณะที่ดีของผู้ประกอบการ ซึ่งทำให้มีผลต่อการเรียนในวิชาอื่นๆ และยังอาจจะส่งผลต่อการออกไปประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปูพื้นฐานเกี่ยวกับความหมาย และคุณลักษณะที่ดีของผู้ประกอบการ ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
 การกำหนดวัตถุประสงค์ ( State Objectives )
       ด้านพุทธิพิสัย
                -ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของผู้ประกอบการได้
                -ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีของผู้ประกอบการได้
       ด้านจิตพิสัย
                 -ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาเรียน
                - ผู้เรียนมีทักษะการคิดประยุกต์ใช้ความรู้ การคิดสร้างสรรค์
                - ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้โดยการค้นพบต่อสิ่งที่เรียนรู้ได้
       ด้านทักษะพิสัย
                 - ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ที่มีเกี่ยวกับผู้ประกอบการไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่ ( Select, Modify, of Design Materials )
       การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
- หนังสือเรียนวิชาผู้ประกอบการ
- เครื่องฉายโปรเจคเตอร์
- เครื่องขยายเสียง (ไมโครโฟน ลำโพง)
       สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
                  -การบรรยาย
                  -การอภิปรายกลุ่ม                                                    
       การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
                             นำเนื้อหาการสอนมาโยงความสัมพันธ์เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ นำโน๊ตบุ๊ค เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ในห้องเรียนเพื่อฉายเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนได้ดูและอธิบาย จะทำให้ผู้เรียนสนใจมากกว่าการอธิบายตามหนังสือ
       การออกแบบสื่อใหม่
                         สรุปเนื้อหาเรื่อง “ความหมาย และคุณลักษณะที่ดีของผู้ประกอบการ” นำเสนอแบบสื่อสไลด์ Power point ที่มีทั้งภาพ สี เสียง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน แล้วใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ในห้องเรียนเพื่อฉายให้ผู้เรียนได้ดู เข้าใจอย่างทั่วถึงและชัดเจน อีกทั้งพิมพ์ออกมาแจกให้ผู้เรียนด้วย

การใช้สื่อ ( Utilize Materials ) 
 -  ดูหรืออ่านเนื้อหาของสื่อ
-  ก่อนที่จะสอนนำเข้าบทเรียน แนะนำบทเรียนที่จะสอนเบื้องต้น เพื่อเชื่อมโยงไปยังบทเรียนที่จะสอนในคาบนี้แก่ผู้เรียนเพื่อเตรียมพร้อม
-  การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน ( Require Learner Response )
ครูผู้สอนจะต้องมีกิจกรรมเสริม เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและเป็นการให้ผู้เรียนได้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น อาจะมีการเล่นเกมภายในชั้น แจกของรางวัลสำหรับคนที่ชนะ เพื่อดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ ครูผู้สอนจะต้องมีการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนแต่ละคนด้วยว่าเข้าใจหรือไม่เข้าใจ
การประเมิน ( Evaluation )
       การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะประเมินว่ามีการจัดเนื้อหาที่สอนเป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกินกรรมมากน้อยเพียงใด สภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมหรือไม่ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด สังเกตความสนใจของผู้เรียนว่ามีความสนใจ ตั้งใจ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีวินัยในตนเอง
       การประเมินสื่อและวิธีการสอน
                           เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้สอนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ ที่ใช้สอน
       การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  
                  - จากการทำแบบฝึกหัด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น