วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน


           
                          การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ THE STUDIES MODEL มีจุดหมายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 9(4) ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
               รูปแบบ THE STUDIES MODEL มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ ความสามารถคุณลักษณะ ความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพ ตามที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์มืออาชีพ แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา  (ไพทูรย์ สินลารัตน์ 2550บรรณาธิการเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย) ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนการสอนเป็นหลัก




         รูปแบบ THE STUDIES MODEL เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการและการจัดการชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูศึกษาวิเคราะห์หลักการแนวคิดทฤษฎีประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค THAILAND 4. 0 หรือยุคการศึกษา 4. 0 มาตรฐานวิชาชีพครู พ. ศ. 2556แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (CONSTRUCTIVIST LEARNING การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (UNIVERSAL DESIGN OF INSTRUCTION: UDI) การวัดผลการเรียนรู้ การกำหนดระดับความเข้าใจ ในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO TAXONOMY  การะผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เรียกว่า THE STUDIES MODEL มีรายละเอียดกรอบแนวคิด (THE STUDIES MODEL FRAMEWORK) ดังแผนภาพประกอบที่ 

รูปแบบ THE STUDIES MODEL

รูปแบบTHE   STUDIES   MODEL
       รูปแบบ THE   STUDIES    MODEL    มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู  มีความรู้ความเข้าใจบทบาทมากที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน  และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปติดการเรียนรู้และจัดการในเรือนรายละเอียดดังภาพประกอบที่ 2





รูปแบบ  THE  STUDIES MODEL มี ขั้นตอนดังรายละเอียดต่อไปนี้ 
        S : กำหนดจุดหมายการเรียนรู้  (SCITING LEAสาหG REAL)   กำหนดจุดหมายการเรียนรู้  ผู้เรียนต้อง ระบุจุดหมายการเรียนรู้ (PRIVALS) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติโดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (DELUALIVE KNOWLEDGE)    และระบุทักษะการปฏิบัติ หรือกระบวนการ   (FCTURAL LAWLEDGE) จุดหมาย
การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียนปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ 
       T: วิเคราะห์ภาระงาน (TALK ANALYSIS) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความรู้ (KNOWLEDGE)ทักษะ (SKILL)  และเจตคติ (ATTITUDE)  ที่เกี่ยวข้องเพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่หมายการเรียนรู้  การวิเคราะห์งานทะเบียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA DIAGRAM คือKNOWLEDGE-SKILL- ATTITUDES
       D: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (DIGITAL LEARNING) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเช่นเครือข่ายสังคมออนไลน์ (SOCIAL NETWORKING)    การแชร์ภาพ  และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่เป็นต้นการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับเนื้อหา (CONTENT) จริยธรรม  สังคม   การสะท้อน  (REFLECTION)  ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้  การทำงานและชีวิตประจำวัน
      I : การบูรณาการความรู้ (INTEGRATED KNOWLEDGE)  การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสนาต่างๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (INTEGRATED LEARNING MANAGEMENT) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์ใดเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทักษะและเจตคติ
        E: การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (EVALUATION TO IMPROVE TEACHING) การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (COGNITIVE DORMAN) ของบลูม (BLOOM 'S TAXONOMY) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงานเป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
      S : การประเมินอิงมาตรฐาน (STANDARD BASED ASSESSMENT) การประเมินคุณภาพการเรียนอิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (STRUCTURE OF OBSERVED LEARNING OUTCOMES: SOLO TAXONOMY) มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการตรวจสอบคุณภาพการเรียนรู้รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
การปรับปรุงรายวิชา
            สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต พ. ศ. 2556 เป็นหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตปรับปรุง พ. ศปรับเปลี่ยนรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ (INSTRUCTIONAL DESIGN AND MANAGEMENT จัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (INSTRUCTIONAL AND CLASSROM MANAGEMENT) ปรับปรุง คือ ชื่อรายวิชารหัสวิชา จำนวนชั่วโมง ในการจัดการเรียนการสอน และคำอธิบายรายวิชาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้สาระและสมรรถนะในการเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ที่คุรุสภากำหนดหนังสือ "THE STUDIES MODEL : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ดังกล่าว
สรุป
           การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เป็นวิชาที่นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องศึกษาไว้ให้แตกฉานรูปแบบ THE STUDIES MODEL เป็นการนำเสนอให้รู้จักหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดการเรียนรู้ กล่าวได้ว่าการรู้รูปแบบ THE STUDIFS MODEL อย่างเดียวแต่ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ ก็คงสอนไม่ได้ตรงรูปแบบ THE STUDIES MODEL พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าในการจัดการเรียนรู้ควรจะปรับปรุงแก้ไขประเด็นใด เมื่อผู้สอนได้แบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนแล้วการจัดการเรียนรู้ต่อไปก็จะง่ายขึ้น ถ้าเป็นไปได้ก็คิดขั้นตอนกระบวนการของตนเองขึ้นมาบ้าง ไม่ต้องเดินตามวิธีการที่คนอื่นกำหนดไว้เสมอไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น