วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน
        สืบค้นมาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 มาตรฐานด้านความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ มาตราฐานที่6 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน นำมากำหนดจุดหมายในการศึกษารายวิชาเพื่อการบรรลุมาตรฐานดังกล่าวนี้
มาตรฐานความรู้
            ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 เพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 มาตรฐาน (จากเดิมมีเพียง 9 มาตรฐาน) โดยเพิ่ม 2 มาตรฐาน  เพิ่มมาตรฐาน “ปรัชญาการศึกษา” , “คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ” และได้จัดให้มาตรฐาน “การจัดการเรียนรู้” และ “การบริหารจัดการในห้องเรียน” จากเดิมที่แยกเป็น 2 มาตรฐาน รวมไว้ด้วยกันเป็น 1 มาตรฐาน และเปลี่ยนแปลงบางมาตรฐานเช่น เดิม มาตรฐานภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู ก็เปลี่ยนเป็น ภาษาและวัฒนธรรมแทน
มาตรฐานความรู้ ทั้ง 11 มาตรฐาน ประกอบด้วยความรู้ดังต่อไปนี้
        1.ความเป็นครู
        2.ปรัชญาการศึกษา  ( เพิ่มเติม )
        3.ภาษาและวัฒนธรรม (เดิม “ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู”)
        4.จิตวิทยาสำหรับครู
        5.การพัฒนาหลักสูตร
        6.การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (รวมจาก 2 มาตรฐานเป็น 1 มาตรฐาน)
        7.การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (เดิม “การวิจัยทางการศึกษา”)
        8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
        9.การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
        10.การประกันคุณภาพการศึกษา
        11.คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ  ( เพิ่มเติม )

มาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการในห้องเรียน
สาระความรู้ :   1. ทฤษฏีและหลักการบริหารจัดการ
               2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา
                3. การคิดอย่างเป็นระบบ
                4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
                5. มนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร
                6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร
                7. การบริหารจัดการชั้นเรียน
                8. การประกันคุณภาพการศึกษา
                9. การทำงานเป็นทีม
                10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
                11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
                12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
                13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
                14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
สมรรถนะ : 1. มีภาวะผู้นำ
                2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
                3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
                4. สามารถในการประสานประโยชน์
                5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
กิจกรรม พืชในท้องถิ่น
พืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะภายนอกบางอย่างที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน
2. ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
        2.1   ตัวชี้วัด
                      1.2     ป.2/1       อธิบายประโยชน์ของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น
                      8.1     ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/6, ป.2/7, ป.2/8
        2.2   จุดประสงค์การเรียนรู้ 
            -อธิบายลักษณะภายนอกของพืชได้
3. สาระการเรียนรู้
       3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง
            -พืชมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในแง่ของปัจจัยสี่ คือ เป็นอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
       3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
            (พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
        4.1   ความสามารถในการคิด
            1)  ทักษะการสำรวจค้นหา
            2)  ทักษะการสรุปอ้างอิง
         4.2   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
        1.   มีวินัย
        2.   ใฝ่เรียนรู้                          
        3.   มีจิตสาธารณะ
6. กิจกรรมการเรียนรู้
         วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคคู่คิดสี่สหาย
                 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน



สื่อการเรียนรู้   :  บัตรภาพ


     1.  ครูนำภาพพืชในท้องถิ่น มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกลักษณะของพืช เช่น ลักษณะของลำต้น 
ลักษณะของดอก และลักษณะของใบ
     2.  ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะภายนอกที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันของพืชแต่ละชนิด

ขั้นสอน


สื่อ/แหล่งการเรียนรู้   :  

คำถามกระตุ้นความคิด
1. ใบงานที่ 3.1  เรื่อง ท้องถิ่น
ถ้านักเรียนต้องการห่อขนม นักเรียนควรเลือกใช้ใบพืชชนิดใด เพราะอะไร
      (พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ใน
ดุลยพินิจของครูผู้สอน)
1.  ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน
     2.  สมาชิกในกลุ่มจับคู่กันเป็น 2 คู่ ให้แต่ละคู่ช่วยกันสำรวจพืช
ในท้องถิ่นของตนเอง คู่ละ 10 ชนิด แล้วบันทึกข้อมูลลงใน
ใบงานที่ 3.1 เรื่อง พืชในท้องถิ่น
     3.  สมาชิกแต่ละคู่กลับกลุ่มเดิม (คน) แล้วผลัดกันอธิบายผลการสำรวจพืชในท้องถิ่นในใบงานที่ 3.1 ให้สมาชิกอีกคู่หนึ่งภายในกลุ่มฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในกลุ่ม  
     4.  ครูจับสลากเลือกนักเรียน 3-4 กลุ่ม นำเสนอใบงานที่ 3.1 หน้าชั้นเรียน แล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นช่วยแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่าง
     5.  นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด


       
         
ขั้นสรุป

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้   :   

          นักเรียนทั้งห้องช่วยกันสรุปความรู้เกี่ยวกับลักษณะภายนอกของพืช


7. การวัดและประเมินผล
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
(ประเมินตามสภาพจริง)
ตรวจใบงานที่ 3.1
ใบงานที่ 3.1
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมีจิตสาธารณะ
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์


8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
        8.1   สื่อการเรียนรู้
            1)  บัตรภาพ
            2)  ใบงานที่ 3.1 เรื่อง พืชในท้องถิ่น
        8.2   แหล่งการเรียนรู้
            -   ท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น