ทฤษฎีการเรียนรู้ของไทเลอร์
องค์ประกอบหลักหรือวัตถุประสงค์หลักของการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์
นั้นประกอบไปด้วย ความต่อเนื่อง (continuity) การจัดช่วงลำดับ (sequence) และ บูรณาการ (integration)
กล่าวคือ
ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง
ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ
และต่อเนื่องกัน
การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง
หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก
ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง
เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
บูรณาการ (integration) หมายถึง
การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน
ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน
เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ
กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนได้ในลักษณะต่างๆ
เช่น การจัดสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน การจูงใจ การรับรู้ การเสริมแรง
การถ่ายโยงการเรียนรู้ ฯลฯ
การจัดสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้
เพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญอยู่ 4 ประการคือ
1.
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง
เช่นการให้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติ ประกอบกิจกรรม และเสาะแสวงหาความรู้เอง
ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจสูงขึ้นเท่านั้น แต่ ยังทำให้ผู้เรียนต้องตั้งใจสังเกตและติดตามด้วยการสังเกต
คิดและใคร่ครวญตาม ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มพูนความรู้
2. ให้ทราบผลย้อมกลับทันที
เมื่อให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติหรือตัดสินใจทำอะไรลงไป
ก็จะมีผลสะท้อนกลับให้ทราบว่านักเรียนตัดสินใจถูกหรือผิด โดยทันท่วงที
3. ให้ได้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ โดยใช้การเสริมแรง
เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือถูกต้อง ก็จะมีรางวัลให้
เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
4. การให้เรียนไปทีละน้อยตามลำดับขั้น ต้องให้ผู้เรียนต้องเรียนทีละน้อยตามลำดับขั้นที่พอเหมาะกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญจะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน
และเกิดการเรียนรู้ที่มั่นคงถาวรขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น