วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 4 ตรวจสอบและทบทวน

ตรวจสอบและทบทวน (Review and Reflect on your learning)

ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ theSTUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน
บุคคลที่มีความสําคัญมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนทุกคนต้องตระหนักและ ยอมรับเสมอว่าครูมีหน้าที่สอนผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันทุกกลุ่มและทุกรายวิชา ไม่ว่าผู้เรียนจะมีความ พิการหรือไม่ก็ตาม ผู้เรียนปกติทั่วไปก็มีความแตกต่างในความสามารถและลักษณะนิสัย ดังนั้นการคํานึงถึง การออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design ) จึงมีความจําเป็น โดยก่อนอื่นผู้สอนต้องสํารวจทําความรู้จัก ผู้เรียนที่จะสอนให้ทั่วถึง สํารวจดูว่ามีผู้เรียนที่พิการในห้องเรียนไหม หรือมีใครที่มีความต้องการพิเศษทาง การศึกษา เช่น ทํางานช้า เรียนรู้ช้า มีสมาธิสั้น เป็นต้น และที่สําคัญต้องสังเกตแบบ/ลีลาการเรียนรู้ (Learning Style) ของผู้เรียน คือ ผู้เรียนบางคนสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการฟังบรรยาย ผู้เรียนบางคนจะเข้าใจได้ดีต้องมี รูปภาพประกอบหรือใช้สื่อตัวอย่างแสดงให้เห็น หรือผู้เรียนบางคนต้องลงมือปฏิบัติ การจัดทําสื่อการสอน ควรคํานึงถึงผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียนปกติหรือพิการ เช่น จัดทําวิดีโอเทป หรือเพาเวอร์พอยท์ ประกอบเสียงและตัวหนังสือกํากับ เป็นต้น เมื่อรู้จักผู้เรียนแล้วผู้สอนจะได้เลือกแบบ/ลีลาการสอน (Teaching Style) ได้ถูกแบบการสอนมีหลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนหลายประเภท เช่น ในบางเนื้อหา อาจเป็นการบรรยาย บางเนื้อหาอาจให้ลงไปเก็บข้อมูลตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วนํามาเสนอ อภิปรายร่วมกัน เป็นต้น การเขียนคําอธิบายรายวิชาควรมีความชัดเจนว่า ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้อะไร โดยวิธีใดและคาดหวังอย่างไร ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเสนอแนะในสิ่งที่ต้องการอยากรู้เพิ่มเติม หรือปรับกิจกรรม บางส่วนในรายวิชานั้นๆ ได้ด้วย
              
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction)
                    สภาพแวดล้อมในห้องเรียน
                             - จัดชั้นเรียนให้สะอาด น่าเรียน
                             - มีสื่อที่ดึงดูดผู้เรียน
                    การจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบการสอน
                             -มีPowerPointประกอบการสอน
                             -มีวีดิโอประกอบการสอน
                             -มีใบความรู้ เรื่องชีวิตและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมความคิดรวบยอด (Concept Activities)
          ขั้นสะท้อนความคิด
          1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนออกมารายงานผลการทำกิจกรรม
          2. ให้นักเรียนนำเสนอผลงาน จากนั้นนำผลงานมาจัดป้ายนิเท
          ขั้นทฤษฎี
          1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมที่ 1 - 2(ผลงานชิ้นที่ 1-2)ถ้านักเรียนรายงานผลการทำกิจกรรมในขั้นสะท้อนความคิดไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ให้ครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
          2. ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมจาก ใบความรู้ที่  และสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา
          ขั้นนำไปใช้
กิจกรรมเรื่อง เรารักทรัพยากร
          1. ให้นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่า จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง เรารักทรัพยากร ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร สรุปผลการอภิปรายและเขียนเป็นแผนผังความคิด
          2. ให้นักเรียนนำผลการอภิปรายกลุ่มจากแผนผังความคิด ไปจัดทำเป็นสมุดภาพ หนังสือเล่มเล็ก แผ่นพับ เขียนเรียงความ คำขวัญ เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          ขั้นสรุป
                    1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ บทที่ 2 เรารักทรัพยากร ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จากนั้นครูตรวจแบบทดสอบพร้อมกับเฉลยคำตอบ
                    2. ให้นักเรียนสรุปบทเรียนโดยเขียนเป็นแผนผังความคิด
                    3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการทำกิจกรรมในขั้นที่
                    4. ให้นักเรียนอภิปรายและซักถามเพิ่มเติม แล้วเก็บ ผลงาน ในแฟ้มผลงานนักเรียน จากนั้นครู              นัดหมายการเรียนครั้งต่อไป  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น