วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

การทบทวนตนเองหลังสอนอย่างมีคุณภาพ

การทบทวนตนเองหลังสอนอย่างมีคุณภาพ
เป็นการทบทวนหรือเป็นกระบวนการเพื่อวิเคราะห์ว่าเกิดเหตุอะไร สาเหตุของการเกิด และจะสามารถดำเนินการให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร โดยเอาบทเรียนจากความสำเร็จและความล้มเหลวของการทำงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาหรือการปรับปรุงการทำงาน การทำ AAR เป็นรูปแบบของกลุ่มทำงานที่สะท้อน ความมีส่วนร่วมในการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สาเหตุของการเกิดและสิ่งที่ได้เรียนรู้คืออะไร

การทำ AAR เริ่มใช้เป็นครั้งแรกโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อสะท้อนถึงการทำงานโดยการจำแนกถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ต้องปรับปรุง

การทำ AAR มักจะใช้ คำถาม คือ
1.      สิ่งที่คาดว่าจะได้จากการทำงาน คืออะไร
2.      สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร
3.      สิ่งที่แตกต่างและทำไมจึงแตกต่าง
4.      สิ่งที่ต้องแก้ไข คืออะไร และจะปรับปรุงได้อย่างไร
คุณลักษณะของ AAR
1.      เปิดใจและซื่อสัตย์ในการพูดคุย
2.      ทุกคนในทีมมีส่วนร่วม
3.      เน้นผลลัพธ์ของกิจกรรมของงาน
4.      การอธิบายวิธีเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องถึงสิ่งที่ต้องทำ
5.      การพัฒนาของการแสดงออกทางความคิดเห็นเพื่อให้ผ่านพ้นอุปสรรค
ใครควรจะใช้ AAR

เครื่องมือนี้ เหมาะสมกับทุกทีมที่ต้องการเรียนรู้จากการทำงาน  แต่ละโครงงานควรใส่ใจและเข้าร่วมในกิจกรรม AAR และทุกเสียงในทีมมีความหมายและความสำคัญ

เมื่อใดที่ควรใช้ AAR เป็นเครื่องมือ

เครื่องมือนี้สามารถแนะนำทีมงานในการชี้นำ AAR อย่างสั้นๆ หลังจากโครงการหรือโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว หรืออาจจะใช้ระหว่างการดำเนินการก็ได้ เพื่อให้ทีมงานได้รับประโยชน์

ควรใช้เวลาใดและต้องใช้ทรัพยากรใดบ้าง

AAR อย่างเป็นทางการจะชี้แนะด้วย "คุณอำนวย"  หรือ ถ้าเป็น AAR ที่ไม่เป็นทางการสามารถนำโดยสมาชิกในทีมงานของโครงการ การทบทวนอย่างเป็นทางการอาจใช้เวลา 1-ชั่วโมง แต่ถ้าไม่เป็นทางการอาจจะใช้เวลาเท่าที่ทีมงานจัดสรรได้ การสนทนาอาจสั้น ประมาณ 15 นาที อาจจะชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของงานและกลยุทธ์ที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ

ขั้นตอนการทำ AAR
1.      ควรทำ AAR ทันที หลังจากจบงานนั้นๆ หรือเร็วที่สุดที่จัดหาเวลาได้ เพราะยังจำได้ดี การเรียนรู้จะได้ถูกนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.      สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในการทำ AAR ต้องมีการเปิดใจและยอมรับที่จะเรียนรู้ ทุกคนควรมีส่วนร่วมในบรรยากาศที่อิสระไม่มีความเป็นเจ้านาย หรือลูกน้อง AAR เป็นการเรียนรู้จากเหตุการณ์มากกว่าการวิจารณ์
3.      มี "คุณอำนวย" เป็นผู้คอยกระตุ้น ตั้งคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
4.      ถามตัวเองว่า สิ่งที่ควรจะได้รับคืออะไร
5.      ถามตัวเองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร หมายถึง ทีมงานต้องเข้าใจและเห็นด้วยความจริงที่เกิดขึ้น พึงระลึกไว้ว่า จุดประสงค์ก็คือการแยกแยะปัญหาไม่ใช่การกล่าวหา หรือกล่าวโทษ
6.      เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแผนงานกับความจริง การเรียนรู้ความจริงเริ่มต้นด้วยทีมเปรียบเทียบแผนงานกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และตัดสินว่า ทำไมจึงเกิดความแตกต่าง และได้เรียนรู้อะไร จำแนกให้เห็นและอภิปรายถึงความสำเร็จและสิ่งที่ขาดหายไป ใส่ในแผนงานเพื่อดำเนินการให้ถึงความสำเร็จและพัฒนาปรับปรุงในสิ่่งที่ขาดหายไป
7.      บันทึกประเด็นสำคัญ การบันทึกประเด็นสำคัญหลังจากที่ได้มีการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนในการทำ AAR แล้ว ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ภายในทีมงานด้วยกันและเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ที่กว้างมากขึ้นกว่าเดิมในองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น